จบปัญหารั่วเรื้อรัง เพียงรู้จักวิธีใช้น้ำยากันซึมที่ถูกต้อง

จบปัญหารั่วเรื้อรัง เพียงรู้จักวิธีใช้น้ำยากันซึมที่ถูกต้อง
การสร้างบ้านหรืออาคารเป็นโปรเจคใหญ่ที่ตื่นเต้นและเต็มไปด้วยโปรเจคย่อยมากมาย และค่าใช้จ่ายที่เสียไปอาจจะไม่คุ้มหากบ้านในฝันที่สร้างออกมาแล้วมีปัญหาเรื้อรังเรื่องน้ำรั่วซึม แต่ปัญหาน่าปวดหัวนี้จะหมดไปแค่คุณรู้วิธีใช้น้ำยากันซึมที่ถูกต้อง

จบปัญหารั่วเรื้อรัง เพียงรู้จักวิธีใช้น้ำยากันซึมที่ถูกต้อง

การสร้างบ้านหรืออาคารเป็นโปรเจคใหญ่ที่ตื่นเต้นและเต็มไปด้วยโปรเจคย่อยมากมาย และค่าใช้จ่ายที่เสียไปอาจจะไม่คุ้มหากบ้านในฝันที่สร้างออกมาแล้วมีปัญหาเรื้อรังเรื่องน้ำรั่วซึม แต่ปัญหาน่าปวดหัวนี้จะหมดไปแค่คุณรู้วิธีใช้น้ำยากันซึมที่ถูกต้อง

น้ำยากันซึมคืออะไร

ปัญหาน้ำรั่วซึมตามพื้นบ้าน พื้นห้องน้ำ หลังคา หรือพื้นครัวเป็นอะไรที่พบได้บ่อยมากกว่าใครหลายคน ๆ คิด เรียกได้ว่าแทบทุกอาคารบ้านเรือนคงเคยประสบปัญหานี้ ไม่ว่าต้นตอจะมาจากใต้ดินหรือจากท่อน้ำ พอเกิดปัญหารั่วซึมเข้าบ้านแล้วก็แก้ได้ยาก และหากไม่ได้แก้ไขหรือการซ่อมแซมอย่างถูกวิธีก็จะเกิดปัญหาเดิมซ้ำอีกจนอาจทำให้โครงสร้างเหล็กที่อยู่ภายในสึกกร่อนในที่สุด ฉะนั้น กันไว้ก่อนดีกว่าแก้ ซึ่งปัญหานี้ป้องกันได้ด้วย “น้ำยากันซึม”

ตามที่ชื่อผลิตภัณฑ์ “น้ำยากันซึม” มีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าตัวหินหรือปูน ตัวน้ำยากันซึมจะช่วยเข้าไปอุดรูพรุนของเนื้อหินหรือคอนกรีตทำให้โมเลกุลน้ำไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปได้ ซึ่งในท้องตลาดก็มีน้ำยาให้เลือกซื้ออยู่หลากหลายประเภท หลายเกรด น้ำยากันซึมที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพในการกันน้ำได้ดีส่วนมากจะเป็นแบรนด์ที่นำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา อิตาลีหรือเยอรมัน

แต่หากแบ่งตามวิธีการใช้งานแล้ว เราสามารถแบ่งน้ำยากันซึมออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก

ประเภทของน้ำยากันซึม

1. น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต

น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผสมคอนกรีต ในขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัว น้ำจะระเหยออกทำให้เกิดเป็นช่องว่างเล็กๆ ภายในคอนกรีตทำให้เนื้อคอนกรีตมีลักษณะเป็นรูพรุน น้ำจึงสามารถซึมเข้าเนื้อคอนกรีตได้ง่าย ๆ

คอนกรีตที่มีคุณภาพดีและใช้งานได้ยาวนานจึงควรมีอัตราส่วนน้ำต่อคอนกรีตที่ต่ำ แต่หากผสมน้ำน้อยเกินไป คอนกรีตก็จะเหนียวและใช้งานยาก น้ำยากันซึมประเภทนี้จึงถูกใช้มาผสมแทนน้ำบางส่วน น้ำยาจะตกผลึกอยู่ภายในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีรูพรุนน้อยลง เมื่อแห้งแล้ว น้ำก็จะซึมเข้าได้ยาก

แถมน้ำยากันซึมแบบผสมคอนกรีตยังมีราคาถูกและใช้งานง่ายอีกด้วย

แต่ข้อเสียที่ชัดเจนอยู่ที่ว่า น้ำยาประเภทที่ใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ไม่สามารถนำไปฉีดพ่นหรือทาบนวัสดุชนิดอื่น เช่น โลหะ หินแกรนิต หรือหินอ่อนได้ และยังควบคุมคุณภาพได้ยากอีกด้วย

2. น้ำยากันซึมแบบทาหรืออาบ

กันซึมแบบทาหรืออาบใช้เคลือบผิววัสดุที่แห้งเพื่อป้องกันการซึมของน้ำและความชื้น น้ำยากันซึมประเภทนี้ใช้ได้กับวัสดุหลายประเภทหินอ่อน แกรนิต หินทราย หรืออิฐมอญ บางสูตรยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดรอยช้ำน้ำ คราบเหลือง และช่วยให้พื้นผิวของวัสดุเงางาม ไม่ด่าง

แต่กันซึมแบบทาหรืออาบก็มีข้อจำกัดในตัว เพราะเราสามารถปกป้องพื้นหินหรือผนังอิฐได้แค่ผิวภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถกันความชื้นและน้ำจากใต้ดินได้ ใช้ได้แค่เฉพาะกันพื้นผิวที่แห้ง และยังมีราคาค่อนข้างสูงอีกด้วย

ประเภทน้ำยากันซึม

ประเภทของน้ำยากันซึม ลักษณะเด่น
น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต เมื่อแห้งแล้วน้ำจะซึมเข้าได้ยาก มีราคาถูกและใช้งานง่าย ใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ไม่สามารถนำไปฉีดพ่นหรือทาบนวัสดุชนิดอื่น
น้ำยากันซึมแบบทาหรืออาบ มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดรอยช้ำน้ำ คราบเหลือง และช่วยให้พื้นผิวของวัสดุเงางาม ไม่ด่าง สามารถปกป้องพื้นหินหรือผนังอิฐได้แค่ผิวภายนอกเท่านั้น ใช้ได้แค่เฉพาะกับพื้นผิวที่แห้ง มีราคาค่อนข้างสูง

วิธีใช้น้ำยากันซึม

ก่อนจะลงน้ำยากันซึมบนพื้นผิวใด ๆ ก็ต้องมีการเตรียมพื้นผิวให้พร้อมก่อน เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดพื้นผิว หากพื้นมีรอยแตกหรือหลุมก็ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนทาน้ำยา และให้มั่นใจว่าจะไม่มีการใช้พื้นที่บริเวณนั้นตนกว่าน้ำยาจะแห้ง ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมง และหากพื้นผิวที่ต้องการทาน้ำยาเป็นพื้นที่กลางแจ้ง แนะนำว่าไม่ควรทำให้ช่วงหน้าฝน

ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันซึมยี่ห้อไหนประเภทใด ขอย้ำว่าสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือการอ่านวิธีใช้และคำแนะนำบนฉลากและปฏิบัติตาม เพราะน้ำยาแต่ละประเภทอาจมีข้อบ่งใช้ที่ต่างกัน และอย่าลืมว่าลงน้ำยากันซึมมีอายุการใช้งานที่จำกัด เราเองต้องเช็คว่าตัวน้ำยาที่ใช้จะอยู่ในนานแค่ไหน และเตรียมการลงน้ำยาครั้งต่อไปก่อนที่จะเกิดปัญหาน้ำรั่วซึม

เลือกใช้น้ำยากันซึมอย่างไรให้เหมาะกับพื้นผิว

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าน้ำยากันซึมในท้องตลาดมีอยู่หลายแบบ และแน่นอนว่าแต่ละแบบก็มีข้อจำกัดต่างกัน สิ่งที่ควรคำนึงเป็นสิ่งแรกก่อนเลือกซื้อตัวกันซึมก็คือ เรากำลังจะใช้ผลิตภัณฑ์นี้กับพื้นที่ไหนของบ้านและตรงนั้นเป็นวัสดุอะไร จะเป็นพื้นครัวหินอ่อน พื้นกระเบื้องห้องน้ำ หลังคา ดาดฟ้า หรือผนังอิฐ แต่ละพื้นที่ย่อมมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป และน้ำยากันซึมตัวหนึ่งอาจไม่สามารถใช้ได้กับพื้นผิว เพราะฉะนั้นการศึกษาพื้นที่และวางแผนก่อนเป็นเรื่องสำคัญมาก

สรุปวิธีใช้น้ำยากันซึม

สรุปง่าย ๆ ว่าวิธีการใช้น้ำยากันซึม เริ่มจากการเคลีย์พื้นที่ให้เรียนน้อย ทำความสะอาดและใช้น้ำยาตามคำแนะนำที่อยู่บนฉลากของผลิตภัณฑ์ นอกจากการใช้น้ำยาให้ถูกวิธีแล้ว การเลือกน้ำยาที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการป้องกันและแก้ปัญหารั่วซึม หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกน้ำยากันซึมตัวไหน หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ปัญหาพื้นหินให้หายรั่วซึมอย่างไร G1 Stoneworks ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาจุกจิกแบบให้หายขาดไปจากบ้านคุณได้